ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเชียงแสน
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอเชียงแสน จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษาเพื่อสนองพระปณิธานที่ ต้องการให้มี “ห้องสมุดที่ดี มีหนังสือครบทุกประเภทสำหรับประชาชน
นอกจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “เฉลิมราชกุมารี”อีกด้วย นับเป็นพระกรุณาธิคุณ ล้นเกล้าฯ แก่ประทรวงศึกษาธิการและแก่พสกนิกรชาวไทยทั่วทุกถิ่น
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอเชียงแสน เริ่มดำเนินการก่อสร้างโดยได้รับการสนับสนุนเงินก่อสร้างจากคุณหญิงวันทนา โรจนนิล และพลเอกเกษตร โรจนนิล พร้อมทั้งได้รับบริจาคอุปกรณ์โสตทัศนศึกษา รวมถึงได้รับการบริจาคจากพ่อค้า ประชาชนอำเภอเชียงแสน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,534,600 บาท แล้วเสร็จและเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2536 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดห้องสมุดด้วยพระองค์เอง ห้องสมุดตั้งอยู่บนเนื้อที่ 1 ไร่ บริเวณหน่วยเฉพาะกิจ ตชด.327 อำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นที่ดินราชพัสดุตรงข้ามวัดเจดีย์หลวง อาคารห้องสมุดเป็นอาคารสองชั้น พร้อมครุภัณฑ์ที่จำเป็น มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 320 ตาราง
ปรัชญา ((Philosophy)
- แหล่งคลังปัญญา แสวงหาความรู้ ควรคู่แก่ประชาชน
วิสัยทัศน์ (Vision)
- ศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ ควบคู่ภูมิปัญญา ล้ำหน้าเทคโนโลยี ภาคีเชื่อมจิต เติมชีวิตหลากกิจกรรม นำนิสัยรักการอ่าน
อัตลักษณ์ (เริ่มใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555)
- เพิ่มพูนปัญญา พัฒนาความคิด มีจิตรักการอ่าน
พันธกิจ (Mission)
- พัฒนาห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเชียงแสน ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดการศึกษาตามอัธยาศัย จัดบริการความรู้ทุกรูปแบบ มีความหลากหลายรวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทุกเพศทุกวัย เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต
- สร้างพื้นที่และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้เชิงรุกอย่างเป็นกระบวนการ และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเองของประชาชน
- พัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน รวมทั้งอนุรักษ์ สืบสานแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ส่งเสริม สนับสนุนการนำเทคโนโลยี สื่อ ที่ทันสมัย มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ประชาชนทุกช่วงวัยให้มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝังและสร้างเจตคติให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการอ่าน
- ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน โดยจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในทุกตำบล
กลยุทธ์
- กลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเชียงแสน ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน
- กลยุทธ์การจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ
- กลยุทธ์การออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับบ้านหนังสือชุมชน สร้างวิทยากรจากภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน
- กลยุทธ์การเพิ่มรูปแบบและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลาย นำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและพัฒนาความสามารถในการอ่าน
- กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
เป้าหมาย
- ประชาชนทุกช่วงวัยจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ เด็ก เยาวชน นักศึกษา สกร. ประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ
ได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากหนังสือและสื่อของทางห้องสมุด - ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทุกช่วงวัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต