ฐานการเรียนรู้ ห้องสมุด 5 G
การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ห้องสมุด 5G คือ Good Librarian (บรรณารักษ์ Good Place (บรรยากาศ) Good Partnership (เครือข่าย) Good Innovation (นวัตกรรม) Good Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้)
1. Good Librarian พัฒนาบรรณารักษ์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการศึกษาและเรียนรู้
บรรณารักษ์มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการห้องสมุด มีทักษะในการปฏิบัติงานในห้องสมุดดี เช่น ด้านไอที ด้านการบริการ ด้านการจัดกิจกรรมบรรณารักษ์มีความเป็นมืออาชีพ มีกระบวนการและขั้นตอนในการทำงานในห้องสมุด เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง บริหารจัดการความรู้ในรูปแบบใหม่ เป็นนักคิด นักพัฒนา และนักวางแผนในการใช้ไอทีเพื่อการปฏิบัติงาน เป็นผู้ประสานเครือข่าย เป็นผู้นำด้านบริการใหม่ๆ มีความภูมิใจในอาชีพบรรณารักษ์มีจิตบริการ มีทัศนคติเชิงบวก ติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ตลอด มีความคิดสร้างสรรค์ บุคลิกภาพดี และมีความสุขในการทำงาน
2. Good Place พัฒนาห้องสมุดให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
บรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านหนังสือ บริการในห้องสมุดอย่างเป็นกันเอง สะดวก สบาย ที่สำคัญต้องประหยัดพลังงาน และสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนบรรยากาศภายในห้องสมุดดี บรรยากาศทั่วไปดี เช่น สะอาด โล่ง โปร่ง สบาย แสงสว่างเพียงพอ ต้นไม้ร่มรื่น การจัดพื้นที่ทำให้น่าสนใจ เช่น มีมุมหนังสือที่หลากหลาย ไม่มีมุมอับ เฟอร์นิเจอร์สบาย ป้ายบอกทางชัดเจน การจัดส่วนส่วนการวางหนังสือ เช่น จัดวางหนังสืออย่างเหมาะสม เข้าถึงง่าย ใช้สะดวก
บรรยากาศภายนอกห้องสมุดดี สถานที่เป็นเอกเทศ ชุมชนเข้าถึงสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวก อาคารน่าสนใจดึงดูดผู้ใช้บริการ เช่น ใช้สี พื้นที่ไม่คับแคบ จัดสัดส่วนให้เหมาะต่อการใช้บริการ ไม่มี dead zone พื้นที่ปรับได้ตามการใช้งาน
3. Good Partnership มีเครือข่ายที่ดีทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง และรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่ง
เรียนรู้ในชุมชน ประสาน ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพ เร่งจัดทำทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละตำบล เพื่อใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้าง การเรียนรู้จากองค์ความรู้ในตัวบุคคลให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ชุมชนประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อการขยายและพัฒนาการศึกษาตามอัธยาศัยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างกว้างขวางและมีคุณภาพ
4. Good Innovation พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาและกลุ่มเป้าหมาย
หนังสือ หรือ สื่อการเรียนรู้ทั้งในรูปของสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อมัลติมีเดีย หรือสื่ออื่นๆ ต้องมีเนื้อหาที่ดี มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคมหนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เนื้อหามีสาระ ส่งเสริมจินตนาการ คุณธรรม จริยธรรม ความถูกต้องของข้อมูล เชื่อถือได้ มีการอ้างอิงถูกต้อง มีภาพและลายเส้นประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหา ใช้คำที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย มีรายการบรรณานุกรมที่หอสมุดแห่งชาติออกให้ (CIP)การจัดหาหนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีนโยบายการจัดหา มีคณะกรรมการคัดเลือก มีคณะกรรมการจัดซื้อ มีการจัดทำประกาศรายชื่อหนังสือที่จะซื้อ มีมุมแนะนำหนังสือดี มีการหมุนเวียนหนังสือเรื่อยๆ มีการจัดทำฐานข้อมูลหนังสือ มีการสนับสนุนสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5. Good Learning Center ศูนย์การเรียนรู้สำหรับคนทุกช่วงวัยในชุมชน ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่
สามารถให้บริการประชาชนในชุมชนได้ทุกคน ทุกช่วงวัย ที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย สนองตอบความต้องการในการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย และเป็นศูนย์บริการความรู้ ศูนย์การจัดกิจกรรมที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย เพื่อให้มีพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสม และมีความสุขกับการเรียนรู้ตามความสนใจ
ความสำคัญเกี่ยวกับห้องสมุด
1.ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการได้ทุก
สาขาวิชา
2.ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ทุกคนสามารถเลือกศึกษาค้นคว้าได้โดยอิสระตามความสนใจของแต่ละบุคคลเป็น
แหล่งภูมิปัญญาของสังคม อาจเป็นการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อให้รอบรู้เข้าใจยิ่งขึ้นในเนื้อหาวิชา หรือเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ หรือเลือกอ่านสิ่งที่ตนเองสนใจ โรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษกล่าวไว้ว่า “การอ่านทำให้เป็นคนเต็มคน”
3.ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การใช้เวลาว่างของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่น ชม
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว บางคนชอบดูหนัง บางคนชอบฟังเพลง อีกหลายคนชอบเล่นเกมส์ แต่การใช้เวลาว่างที่คุ้มค่าที่สุดอย่างหนึ่ง คือการอ่านหนังสือ หยิบหนังสือดี ๆ สักเล่มให้กับชีวิตอ่านแล้ว ทำให้เกิดประเทืองปัญญามีประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
4. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีความรู้ทันสมัย ทันเหตุการณ์อยู่เสมอเพราะผู้ใช้ห้องสมุดเป็นประจำจะเป็นผู้ที่รู้ข่าว
ความเคลื่อนไหวทั้งภายในและนอกประเทศเสมอ
5.ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า และใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง เพราะห้องสมุดเป็นแหล่ง
บริการข้อมูล ข่าวสาร จัดให้มีบริการช่วยการค้นคว้าและเสนอแนะการอ่าน ผู้ใช้จึงสามารถขยายขอบเขตการอ่านการศึกษาค้นคว้าให้กว้างขวางออกไปได้มากขึ้น
6.ห้องสมุดเป็นสมบัติของส่วนรวม ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องรับรู้กฎระเบียบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รับรู้ถึง
สิทธิและหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อส่วนรวม จึงเป็นการปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยในตัวบุคคลเป็นอย่างดี
ประโยชน์ของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นแหล่งที่จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวบุคคลและสังคมในด้าน
ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ด้านการเรียนการสอน
2. ด้านการค้นคว้าวิจัย เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่
3. ด้านศิลปวัฒนธรรม (สะสมความคิด วัฒนธรรม มรดกของชาติ)
4. ด้านการดำรงชีวิต
5. ด้านเศรษฐกิจ (ช่วยประหยัดในการหาความรู้ สร้างอาชีพให้คน)
6. ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
วัตถุประสงค์ของห้องสมุดทั่วไป
1.เพื่อการศึกษา (Education) ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการการศึกษาด้วยตนเอง บริการได้ทุกเพศ ทุกวัยไม่แบ่ง
ชั้นวรรณะ หรือพื้นความรู้ เป็นตลาดวิชา
2. เพื่อความรู้ (Information) ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ และข้อเท็จจริงของข่าว ทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศที่ทันต่อเหตุการณ์
3.เพื่อการค้นคว้าวิจัย (Research) ห้องสมุดเป็นแหล่งช่วยให้ผู้อ่านที่สนใจในวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่ง
สามารถค้นหาข้อมูลทางวิชาการใหม่ ๆ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าต่อไป
4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) วัสดุอุปกรณ์หนังสือในห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้บริการเกิดความสุขใจ
เกิดความซาบซึ้งและประทับใจวรรณกรรมสาขาต่าง ๆ ที่ผู้รู้เขียนขึ้น และนำข้อคิด คำคม คติ
สอนใจต่างๆ ในวรรณกรรมนั้นๆ มาปฏิบัติในทางที่ดี
5.เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) มีการจัดบรรยากาศภายในห้องสมุดให้สวยงาม เพื่อเป็นแหล่งพัก
ใจให้คลายกังวล มีหนังสือประเภทบันเทิงคดี สารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น
ระบบการจัดหมู่หนังสือในห้องสมุด
การจำแนกประเภทแบบห้องสมุดทำเพื่อที่จะให้สามารถจัดเก็บหนังสือได้อย่างเป็นระเบียบ สะดวกในการค้นหา และการจัดเก็บเข้าที่เดิม โดยปัจจุบันมีระบบการจัดหมวดหมู่อยู่หลายระบบ ในปัจจุบันมีระบบที่มีประสิทธิภาพและ นิยมสำหรับห้องสมุดประชาชน ได้แก่ ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification)
เรียกย่อๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน เมลวิล ดิวอี้ ในขณะที่เขา กำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College) ซึ่งห้องสมุดประชาชนอำเภอแม่สรวยก็ใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบระบบทศนิยมดิวอี้
การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 1 หมวดใหญ่ แบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป (Generalities)
100 ปรัชญา (Philosophy)
200 ศาสนา (Religion)
300 สังคมศาสตร์ (Social sciences)
400 ภาษาศาสตร์ (Language)
500 วิทยาศาสตร์ (Science)
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology)
700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and recreation)
800 วรรณคดี (Literature) 900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (History and geography)

